วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561

วันพุธที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2561

ผลสอบวิชา Law ภาค 2/60




( Law 3016 )
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2084823188216656&id=747767835255538 part 1

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2084826411549667&id=747767835255538 part 2

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=2084826724882969&id=747767835255538 part 3

( Law 1001 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691325867612995.1073742058.403152253097036&type=1&l=8aa7992f63 part 1

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691325867612995.1073742058.403152253097036&type=1&l=8aa7992f63  part 2

( Law 1002 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691330470945868.1073742059.403152253097036&type=1&l=3d886d0cee part 1

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691330470945868.1073742059.403152253097036&type=1&l=3d886d0cee part 2

( Law 1003 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691339877611594.1073742060.403152253097036&type=1&l=ca3637353c part 1

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691339877611594.1073742060.403152253097036&type=1&l=ca3637353c part 2

( Law 2001 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691355784276670.1073742061.403152253097036&type=1&l=6da1efa3c7 part 1

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691355784276670.1073742061.403152253097036&type=1&l=6da1efa3c7 part 2

( Law 2002 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691360364276212.1073742062.403152253097036&type=1&l=eb9bd2972b

( Law 2003 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691364354275813.1073742063.403152253097036&type=1&l=f153278712 part 1

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691364354275813.1073742063.403152253097036&type=1&l=f153278712 part 2

( Law 2004 ) 
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691377917607790.1073742064.403152253097036&type=1&l=b64bcb661a part 1

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691377917607790.1073742064.403152253097036&type=1&l=b64bcb661a part 2

( Law 2005 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691390200939895.1073742065.403152253097036&type=1&l=16f41f140f

( Law 2006 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691396614272587.1073742066.403152253097036&type=1&l=98b55679a0 part 1

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691396614272587.1073742066.403152253097036&type=1&l=98b55679a0 part 2

( Law 2007 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691400897605492.1073742067.403152253097036&type=1&l=aae4c32046

( Law 2008 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691427330936182.1073742068.403152253097036&type=1&l=ae0cb4acd8

( Law 2009 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691452314267017.1073742069.403152253097036&type=1&l=493d287a31

( Law 2010 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691456537599928.1073742070.403152253097036&type=1&l=0e9f209c8f part 1

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691456537599928.1073742070.403152253097036&type=1&l=0e9f209c8f part 2

( Law 2011 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691469090932006.1073742071.403152253097036&type=1&l=3802d815fa

( Law 2012 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691472064265042.1073742072.403152253097036&type=1&l=4fb0fcc502

( Law 2013 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691477437597838.1073742073.403152253097036&type=1&l=49b14e1064

( Law 3001 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691487240930191.1073742074.403152253097036&type=1&l=540f71fef8

( Law 3002 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691489747596607.1073742075.403152253097036&type=1&l=72db2d8d14

( Law 3003 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691514234260825.1073742076.403152253097036&type=1&l=c76e9701bf

( Law 3004 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691516707593911.1073742077.403152253097036&type=1&l=9fe1d3d29c

( Law 3005 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691521754260073.1073742078.403152253097036&type=1&l=eafc251812

( Law 3006 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691528264259422.1073742079.403152253097036&type=1&l=b792afb19e

( Law 3007 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691550577590524.1073742083.403152253097036&type=1&l=f50fca2205

( Law 3008 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691552494256999.1073742084.403152253097036&type=1&l=912a8f3b03

( Law 3009 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691535954258653.1073742080.403152253097036&type=1&l=5dccf7c0f3

( Law 3010 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691540320924883.1073742081.403152253097036&type=1&l=dbf0a8e0c9

( Law 3011 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691543090924606.1073742082.403152253097036&type=1&l=be7d357f72

( Law 3012 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691558937589688.1073742085.403152253097036&type=1&l=72553e4d14 part 1

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691558937589688.1073742085.403152253097036&type=1&l=72553e4d14 part 2

( Law 3015 ) รออัพเดต

( Law 4001 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691567140922201.1073742087.403152253097036&type=1&l=1909395de7

( Law 4002 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691574557588126.1073742089.403152253097036&type=1&l=fa2401b514

( Law 4003 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691582480920667.1073742091.403152253097036&type=1&l=4e29718ef3

( Law 4004 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691564527589129.1073742086.403152253097036&type=1&l=92b304d463

( Law 4005 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691571957588386.1073742088.403152253097036&type=1&l=6e08d2f9ca

( Law 4006 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691577540921161.1073742090.403152253097036&type=1&l=5c0f927d02

( Law 4007 ) 
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691585164253732.1073742092.403152253097036&type=1&l=580549e814

( Law 4008 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691590670919848.1073742093.403152253097036&type=1&l=fc362bf846 part 1

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691592170919698.1073742094.403152253097036&type=1&l=6755470ad4 part 2

( Law 4009 ) 
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691599494252299.1073742095.403152253097036&type=1&l=274ada4cba

( Law 4010 ) 
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691602737585308.1073742096.403152253097036&type=1&l=ee7ef0f414

( วิชาเลือกทั้งหลาย ) เช็คในเว็บ ru.ac.th ได้แล้วนะคัรบ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1691715850907330.1073742097.403152253097036&type=1&l=98e40ec535



วันพฤหัสบดีที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ผลสอบวิชา Law ภาคซ่อม 1/2560


( Law 1001 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628878817191034.1073742011.403152253097036&type=1&l=105dc58fc7

( Law 1002 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628883407190575.1073742012.403152253097036&type=1&l=ec6a57caa2

( Law 1003 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628885430523706.1073742013.403152253097036&type=1&l=3f53cdedf1

( Law 2001 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628887367190179.1073742014.403152253097036&type=1&l=6435bbe756

( Law 2002 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628889750523274.1073742015.403152253097036&type=1&l=db39b916c1

( Law 2003 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628891197189796.1073742016.403152253097036&type=1&l=69777f2c9e

( Law 2004 ) แก้ไข
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1629052300507019.1073742052.403152253097036&type=1&l=9aa934824c

( Law 2005 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1629054217173494.1073742053.403152253097036&type=1&l=4ea5ffac3b

( Law 2006 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628898493855733.1073742019.403152253097036&type=1&l=b7e8fa0694

https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628899307188985.1073742020.403152253097036&type=1&l=db4682f835

( Law 2007 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628902840521965.1073742021.403152253097036&type=1&l=ae25c35d71

( Law 2008 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628905470521702.1073742022.403152253097036&type=1&l=eeec6ace7d

( Law 2009 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628910277187888.1073742023.403152253097036&type=1&l=dbe107a67c

( Law 2010 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628914227187493.1073742024.403152253097036&type=1&l=c8f8a0bae7

( Law 2011 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628916947187221.1073742025.403152253097036&type=1&l=8ed89ae4ba

( Law 2012 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628920693853513.1073742026.403152253097036&type=1&l=a1d9f3fcfa

( Law 2013 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628922930519956.1073742027.403152253097036&type=1&l=97230d0d3a

( Law 3001 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628934160518833.1073742028.403152253097036&type=1&l=891b775e5b

( Law 3002 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628937480518501.1073742029.403152253097036&type=1&l=299b4e6415

( Law 3003 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628938747185041.1073742030.403152253097036&type=1&l=4e2fdda684

( Law 3004 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628940707184845.1073742031.403152253097036&type=1&l=b16976fbda

( Law 3005 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628942573851325.1073742032.403152253097036&type=1&l=77d9964ab2

( Law 3006 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628944963851086.1073742034.403152253097036&type=1&l=6b088d374d

( Law 3007 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628946393850943.1073742035.403152253097036&type=1&l=3536bbf9b0

( Law 3008 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628948423850740.1073742036.403152253097036&type=1&l=8ad4f98339

( Law 3009 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628950120517237.1073742037.403152253097036&type=1&l=83803c919e

( Law 3010 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628951240517125.1073742038.403152253097036&type=1&l=e86931f24d

( Law 3011 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628960203849562.1073742039.403152253097036&type=1&l=7d3de15770

( Law 3012 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628971073848475.1073742044.403152253097036&type=1&l=e65f47f576

( Law 3015 ) New
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1629060503839532.1073742054.403152253097036&type=1&l=03a1fab403

( Law 4001 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628966083848974.1073742041.403152253097036&type=1&l=a93b2dad99

( Law 4002 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628967117182204.1073742042.403152253097036&type=1&l=a43c6d1b68

( Law 4003 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628968243848758.1073742043.403152253097036&type=1&l=0331fd69d4

( Law 4004 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628975720514677.1073742045.403152253097036&type=1&l=7590fe7e57

( Law 4005 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628977867181129.1073742046.403152253097036&type=1&l=92e1fa0a34

( Law 4006 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628979410514308.1073742047.403152253097036&type=1&l=8cd67c03dc

( Law 4007 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628985800513669.1073742048.403152253097036&type=1&l=b73b2b91a5

( Law 4008 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628987213846861.1073742049.403152253097036&type=1&l=d15508418f

( Law 4009 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628989443846638.1073742050.403152253097036&type=1&l=ee1574c81f

( Law 4010 )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1628991080513141.1073742051.403152253097036&type=1&l=639a751d87

( วิชาเลือกทั้งหลาย )
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1629067317172184.1073742056.403152253097036&type=1&l=748869ded0





วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

จากหนุ่มวินมอเตอร์ไซค์สู่เก้าอี้อัยการ





อยากให้อ่าน! จากเด็กที่พ่อแม่ไม่ส่งเสริมให้เรียน-สู่เด็กเข็นผัก-รับจ้างวินมอเตอร์ไซค์ เติบใหญ่เป็น “อัยการ”


หากเส้นทางชีวิตเปรียบเหมือนถนนสายหนึ่ง ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เป็นธรรมดาที่การเดินหน้าสู่จุดมุ่งหมายต้องฟันฝ่าขวากหนาม อุปสรรค ผจญกับหลุมบ่อ เปรอะเปื้อนโคลนตม เช่นเดียวกับชีวิตของหนุ่มวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง ที่ชื่อ “วรวิทย์ เอี่ยมสำอางค์” หรือ “โจ” ที่สามารถฟันฝ่าอุปสรรค จนถึงเป้าหมายบนเก้าอี้ “ทนายแผ่นดิน”
“อัยการวรวิทย์” สอบติดอัยการผู้ช่วย รุ่นที่ 51 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง อัยการผู้ช่วย สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายอัยการ ช่วยราชการสำนักงานคดีอาญากรุงเทพใต้ ปฏิบัติราชการสำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญากรุงเทพใต้ 5
“ผมเกิดในครอบครัวประกอบอาชีพขายสินค้าการเกษตรพวกผักผลไม้ ใน จ.เพชรบุรี มีพี่น้องรวม 4 คน ผมเป็นคนที่ 3 ช่วงชีวิตวัยเด็กพ่อไม่สนับสนุนให้เรียนหนังสือ เนื่องจากเป็นครอบครัวที่ประกอบอาชีพค้าขาย พ่ออยากให้ลูกประกอบอาชีพค้าขายเหมือนพ่อ เนื่องจากเป็นอาชีพอิสระ ไม่ต้องเป็นลูกจ้างใคร และเกรงว่าหากดันทุรังส่งลูกเรียนในชั้นสูงๆ จะประคองเรือไม่ถึงฝั่ง เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจน พ่อมักพูดกับลูกๆ เสมอว่า เรียนจบมาก็ต้องไปเป็นลูกน้องคนอื่น ส่วนจะสอบเป็นข้าราชการก็อย่าหวังเลยว่าชาวบ้านอย่างเราๆ จะมีโอกาสสอบได้เป็นข้าราชการ”
ชีวิตในวัยเยาว์ “อัยการวรวิทย์” เล่าว่า เรียนจบชั้น ป.6 จากโรงเรียนบ้านท่ายาง ในชั้นนี้พ่อสนับสนุนให้เรียนเพราะน่าจะเป็นการศึกษาภาคบังคับให้เด็กไทยทุกคนต้องเรียน แต่พอจะต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พ่อไม่อยากให้เรียนต่อ อยากให้มาช่วยทางบ้านค้าขาย แต่ก็ขัดใจพ่อไปเรียนต่อชั้นมัธยมตอนต้น เรียนได้แค่ ม.1 เท่านั้นเพราะทางบ้านเกิดปัญหาด้านการเงินจึงจำใจต้องลาออกจากโรงเรียนมาช่วยครอบครัวค้าขาย หารายได้เพิ่มใช้หนี้สิน นอกจากการขายผักผลไม้ ยังต้องเผาข้าวหลามขายที่ตลาดนัดในย่าน จ.นนทบุรี หากว่างจะไปรับจ้าง เป็นคนยกของพวกสินค้าเกษตร
“มีอยู่วันหนึ่งขณะผมกำลังทำงานยกตะกร้าผักอยู่ ได้ยินเสียงเพื่อนสมัยมัธยมต้นขี่รถมอเตอร์ไซค์ หยอกเย้าเฮฮากัน ตอนนั้นดูมันช่างสนุกสนาน แต่ผมต้องมาทำงาน แบก หาม เมื่อคิดได้จึงตัดสินใจว่าจะต้องกลับไปเรียนให้ได้ จึงแอบสมัครเรียน กศน. พอจบมัธยมต้น ผมตัดสินใจขออนุญาตพ่อเรียนต่อในชั้น ม.4 ครั้งนั้นพ่อคงไม่อยากหักหาญน้ำใจมากนัก ยอมให้เรียนต่อสายสามัญ แต่ผมและน้องชายยังต้องมาช่วยพ่อและแม่ค้าขายของตามปกติ จนถึงชั้นอุดมศึกษาพ่อบอกว่าไม่มีเงินส่งให้เรียน ตอนนั้นผมคิดในใจเพียงว่าไม่เป็นไร ขอแค่มีโอกาสเรียนก่อน จึงมาสมัคร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง และเรียนจนจบเรียนจบปริญญาตรี ในปี 2551 และระหว่างทำเรื่องขอจบ พ่อยังทำเตาย่างไก่ เพื่อให้ผมไปขายไก่ย่างตามตลาดนัดแถวๆ จ.นนทบุรี ผมไม่ได้ขัดใจ เนื่องจากพ่อยอมให้โอกาสเรียนจนจบปริญญาตรี ขณะเริ่มขายไก่ย่างได้สักพักหนึ่ง เป็นช่วงเศรษฐกิจของโลกเกิดปัญหา ขายของขาดทุนเรื่อยๆ ผมจึงขอพ่อมาลงเรียนเนติบัณฑิต”
ระหว่างนั้นความเจ็บป่วยเริ่มมาเยือนเสาหลักของครอบครัว “อัยการวรวิทย์” เล่าว่า พ่อป่วยโรคเบาหวานลงขา ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จึงต้องคอยดูแลพ่ออย่างใกล้ชิด บางช่วงอาการดี ผมก็ต้องหางานทำ แต่ทำงานประจำไม่ได้เพราะพ่อยังป่วยอยู่ เลยตัดสินใจขี่วินรถจักรยานยนต์รับจ้าง อยู่ย่านมหาวิทยาลัยรามคำแหง วิทยาเขตบางนา (ม.รามคำแหง 2) โดยขี่รถตั้งแต่ 05.30-08.00 น. และ 18.00-19.00 น.
“ตลอดเวลาที่พ่อป่วย ประมาณ 5 ปี ผมดูแลพ่อไปด้วย ขี่วินมอเตอร์ไซค์ไปด้วย และอ่านหนังสือเพื่อสอบเนติบัณฑิตไปด้วย จนจบเนติบัณฑิตสมัยที่ 65 ช่วงนั้น อาการพ่อทรุดหนักมาก สมองไม่รับรู้อะไร เหมือนเจ้าชายนิทรา ครอบครัวหมดความหวังว่าพ่อจะหาย ได้แต่รอเวลาว่าพ่อจะจากพวกเราไปวันไหน ทุกๆ เช้าผมตื่นนอนมาเห็นพ่อนอนนิ่งๆ จะรู้สึกใจหายทุกครั้ง ต้องเปิดผ้าห่มดูที่ท้องว่าพ่อยังคงหายใจอยู่หรือเปล่า ช่วงนั้นผมมีโอกาสสอบอัยการผู้ช่วยครั้งแรกเมื่อปลายปี 2557 รู้สึกว่าข้อสอบยากมาก จนสอบไม่ผ่าน แต่คิดในใจว่า ถ้ามีเวลาเตรียมตัวดีๆ น่าจะทำได้ จนถึงวันที่ 27 มกราคม 2558 พ่อเสียชีวิตลง ผมขอแม่และคนในครอบครัวให้เก็บศพพ่อเอาไว้ก่อน อย่าเพิ่งเผา รอผมสอบอัยการรอบต่อไป เพื่อจะได้ใส่ชุดปกติขาวในวันงานเผาศพพ่อให้ได้
“ช่วงที่พ่อเสียชีวิต จึงขายเสื้อวินมอเตอร์ไซค์ มาเป็นทนายความ ในช่วงปี 2558 งานทนายความเยอะมาก ผมเป็นทั้งเสมียนทนายความ เป็นทั้งคนขับรถ และจัดทำเอกสารเอง จนไม่มีเวลาอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบอัยการ จึงอ่านในห้องพิจารณาคดี ระหว่างรอผู้พิพากษาลงบัลลังก์บ้าง อ่านระหว่างนั่งรอคัดเอกสารบ้าง ตอนนั้นคิดว่าความหวังที่จะใส่ชุดปกติขาวในวันงานเผาศพพ่อหมดไปแล้ว จึงบอกกับทางครอบครัวว่า ให้เผาศพพ่อก่อนดีกว่า เพราะหากรอให้ผมสอบติดเป็นอัยการ ศพพ่อคงไม่ได้เผาสักที ครอบครัวจึงเผาศพพ่อหลังวันที่ผมสอบอัยการ แต่หลังจากที่งานเผาศพพ่อเสร็จไปแล้ว ประมาณ 1 เดือน ก็สอบติดอัยการผู้ช่วย”
“อัยการวรวิทย์” เล่าถึงความรู้สึกแรกเมื่อทราบว่าสอบติดอัยการผู้ช่วย ว่า “ผมดีใจมาก แต่ก็เสียใจที่ผมไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง หากไม่เผาศพพ่อก่อน คงมีโอกาสได้ใส่ชุดปกติขาว ในวันเผาศพพ่อตามที่ตั้งใจไว้
ครั้นถามถึงเหตุผลในการเลือกเดินสู่เส้นทางสายนักกฎหมาย “อัยการวรวิทย์” เผยว่า แรงบันดาลใจมาจากทางบ้านมีฐานะยากจน เมื่อตอนเด็กพ่อเคยเป็นคดีความขึ้นศาลคดีแพ่ง คดีนั้นพ่อผมเป็นโจทก์ฟ้องคดี กว่าจะชนะคดีทั้ง 3 ศาลใช้เวลานานหลายปีมาก ผมจำได้ว่าพ่อและญาติๆ ต้องไปศาลเป็นประจำ และทุกครั้งพ่อจะเคร่งเครียด ต้องนัดพบเพื่อพูดคุยกับคนแก่ ผมหงอก ที่ทุกคนให้ความเคารพเกรงใจ แต่ละครั้งต้องมีของฝาก ทั้งที่พ่อค้าแม่ค้าขายของมาเงินทองไม่ได้มากมาย แต่ต้องเก็บเงินไว้ให้คนแก่ท่านนี้เป็นประจำ บางครั้งต้องขอยืมคนอื่นมา ต่อมาจึงทราบว่า เขาคือทนายความของเรา
“ตอนนั้น ผมไม่รู้ว่าทนายความคืออะไร แต่ดูแล้วน่าเกรงขาม เพราะขนาดพ่อที่ผมคิดว่าเก่งแล้ว ยังให้ความเคารพ ผมเคยถามพ่อว่า ทนายความกลัวตำรวจไหม พ่อบอกว่าตำรวจส่วนมากกลัวทนายความ ผมเริ่มสับสนว่าทำไมตำรวจมีปืนต้องกลัวทนายความ เลยถามพ่ออีกว่า แล้วทนายความกลัวใคร พ่อบอกว่าน่าจะกลัวอัยการ คำถามในใจของผมคือ อัยการคือใคร พอเริ่มโตขึ้นจึงทราบว่าอัยการคืออะไร ทำหน้าที่อะไร ประกอบกับสามีของอาผมเป็นอัยการ ผมจึงเริ่มสังเกตและมักจะพูดคุยกับอาเขยทุกครั้งที่มีโอกาสได้พบท่าน ผมเริ่มรู้จักพนักงานอัยการมากขึ้น จนเริ่มอยากเป็นอัยการ ผมจึงมุ่งมั่นที่จะเรียนสายกฎหมายเพื่อสอบบรรจุเพื่อเป็นอัยการตลอดมา”
“อัยการวรวิทย์” บอกทิ้งท้ายว่า เมื่อได้เป็นอัยการตามที่หวังแล้ว ตั้งปณิธานว่าจะปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทนายของแผ่นดิน ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม อำนวยความยุติธรรมให้กับทุกฝ่าย ปราศจากอคติทั้งปวง และจะเป็นที่เชื่อมั่นของประชาชนตลอดชีวิต
แต่ละห้วงชีวิตของ “อัยการวรวิทย์” ที่เต็มเปี่ยมด้วยความกตัญญู ความเพียร มานะ อุตสาหะ จึงเป็นต้นแบบของนักสู้ตัวจริงเสียงจริง!!
ขอบคุณข้อมูลและอ่านเพิ่มเติมได้จาก มติชนออนไลน์



วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

เคล็ดลับเรียนกฎหมาย ทำยังไงให้สอบได้ที่ 1 ในทุกสนามสอบ


เนติบัณฑิต บอกเล่าความสำเร็จ "นักกฎหมาย"

โดย พรพรรณ จิตติวัธน์ 

การเป็น "เนติบัณฑิต" อาจง่ายสำหรับบางคนและอาจยากสำหรับบางคน จะง่ายหรือยาก เป็นเรื่องของ เทคนิคในการเรียนรู้ ซึ่งการเป็นเนติบัณฑิตเองก็มีเทคนิคไปสู่ความสำเร็จเช่นกันกับอาชีพอื่นๆ จากประสบการณ์ความสำเร็จของเนติบัณฑิต 5 คน

เขาเหล่านั้นมีโอกาสมาเล่าถึงความสำเร็จให้ฟัง เริ่มจากเนติบัณฑิตสมัยที่ 52 วิวัฒน์ ว่องวิวัฒน์ไวทยะ ปัจจุบันเป็นผู้พิพากษาชั้นต้น ประจำกองผู้ช่วยผู้พิพากษาศาลฎีกา

สอบเนติบัณฑิตสมัยของตัวเองได้ที่ 1 และยังสอบเป็นอัยการได้ที่ 1 อีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอ-พอสอบผู้พิพากษายังได้ที่ 1 อีก วิวัฒน์เล่าให้ฟังว่า

เริ่มแรกสมัยที่ยังเป็นนักศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นคนไม่ใช่เด็กเรียน และไม่ใช่คนเก่ง "ตอนที่เรียนรามคำแหง ผมแทบไม่เคยเข้าชั้นเรียน อาศัยการที่เรามีใจรักที่จะเรียนกฎหมาย เพราะการเรียนกฎหมายให้ได้ดีต้องเริ่มที่มีใจรักก่อน จากนั้นก็เป็นเรื่องของการอ่านหนังสือ การเรียนในห้องเรียน ซึ่งการอ่านหนังสือนั้นต้องมีเทคนิค อย่าคิดว่ามาเรียนกฎหมายแล้วเรียนแบบให้ผ่านๆ ไป แบบนั้นไม่ถูกต้องและไม่ดีแน่ๆ..."

วิวัฒน์บอกว่า เมื่อมีใจรักจะเรียนกฎหมาย ซึ่งต้องรักจริงๆ รักในตัวบทกฎหมาย ไม่ใช่หลอกตัวเพื่อไปตามแฟชั่น ต้องคิดว่าตัวเองรักแล้วจริงๆ หรือยัง ถ้ายังไม่มากก็ต้องปลูกฝังให้เกิดความรัก พยายามมีความฝัน

"...วิธีเรียนของผมจะใช้การดูจากข้อสอบเก่าย้อนหลังไป 20 สมัย อ่านจากข้อสอบพวกนั้น ทั้งนี้ การดูข้อสอบเก่าเป็นเหมือนลายแทงในการดูหนังสือ และเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบ ที่สำคัญเมื่ออ่านหนังสือ หรือเรียนกลับมาบ้านแล้ว ต้องทบทวนทันที ตามทฤษฎีหากปล่อยเวลาผ่านไปเพียงหนึ่งวัน ความรู้หายไปทันที 50% และเมื่อผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ความรู้ก็จะหายไป 90%..."

 วิวัฒน์บอก ดังนั้น เขาจึงใช้การทบทวนสิ่งที่เรียนมาทันทีที่กลับถึงบ้าน ซึ่งการทบทวนเช่นนั้นทำให้ความรู้และสามารถจดจำสิ่งต่างๆ เหล่านั้นไปอีก 2 สัปดาห์ และยิ่งทบทวนต่อไปอีกก็จะอยู่นานถึง 1 เดือน

"บางคนอ่านหนังสือแล้วง่วง ผมแนะนำว่าถ้าง่วงก็ให้นอนเลย เพราะเป็นวิธีเดียวที่จะแก้ง่วงได้ นอนสัก 3 ชั่วโมงแล้วค่อยกลับมาอ่านต่อ ซึ่งจะดีกว่า และอย่าลืมออกกำลังกายให้ร่างกายแข็งแรงด้วย ไม่ใช่นั่งจ่อมอยู่กับหนังสือตลอดเวลา..."

บางคนอ่านแล้วไม่จำ-ทำอย่างไร?

วิวัฒน์บอกว่า การไม่จำเพราะไม่ใส่ใจ

"...การอ่านหนังสือเราต้องเอาใจใส่เข้าไปในตัวหนังสือด้วย มีสมาธิกับมัน ต้องเข้าถึงมัน อย่าไปคิดว่าอ่านไปเรื่อยๆ ให้จบแต่อ่านแล้วไม่รู้เรื่องก็ไม่ได้ผล"


การเรียนกฎหมายเรื่องของ "การอ่าน" เป็นเรื่องสำคัญ เป็นหัวใจของวิชานี้ก็ว่าได้ เพราะตัวบทกฎหมายนั้นต้องใช้วิธีการท่องจำอย่างมาก การท่องจำจึงต้องมีสมาธิและความเข้าใจ วิธีเรียนของคนแรกผ่านไป มาถึง


พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ เนติบัณฑิตสมัยที่ 55 ปัจจุบันเป็นอาจารย์ระดับ 4 ภาควิชากฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พัฒนาพร เป็นอีกคนที่บอกว่าเป็นคนเรียนไม่เก่ง และไม่ค่อยมีสมาธิ แต่ที่ประสบความสำเร็จเพราะตนเองมีความเชื่อมั่นและความตั้งใจ


"เกิดมาไม่เคยสอบได้ที่ 1 มาก่อนเลย เพิ่งจะมาสอบได้ที่ 1 เนติบัณฑิตนี่แหละ เพราะที่ผ่านมาเคยคิดแต่ว่าเรียนพอให้ผ่านๆ ก็พอ"

หญิงสาวกล่าวพร้อมเสียงหัวเราะ เธอบอกว่า เคยคิดว่าคนที่เข้ามาสอบเนติฯมีตั้ง 2-3 หมื่นคน แต่มีคนที่ตั้งใจมาสอบจริงๆ ไม่กี่คน และคิดว่าถ้าเราตั้งใจดี สิ่งที่ดีๆ ก็จะส่งผลถึงเรา

"เหมือนกับที่เรียนช่วงแรกๆ ไม่ค่อยอะไรมาก พอต่อมาเราตั้งใจ เป็นความตั้งใจว่ายังไงเราต้องเรียนให้จบ พอเรามีความตั้งใจแล้ว เราก็ลงมือทำ และเมื่อทำไปแล้วเคยท้อถอยนะ...แต่ก็ต้องอดทน และเคยคิดว่าเราเป็นหุ่นยนต์จนไม่อยากเรียนไม่อยากทำอะไร แต่สักพักก็คิดได้ว่าถ้าทำอะไรก็ต้องทำให้สำเร็จ คือคิดว่าต้องมีวินัยในตนเอง คืออดทน ขยัน และต้องมีความสม่ำเสมอ...แล้วมันก็ไม่ยาก"


เธอบอกว่า ถ้าคิดอย่างนี้แล้วเชื่อว่าทุกคนสามารถทำได้ และหากใครมีความขยัน เธอว่าความตั้งใจจะทำให้ความขยันตามมา สำหรับเทคนิคในการอ่านตำราของเธอนั้น เธอบอกว่าไม่ต่างจากคนอื่นมากนัก

"เทคนิค...ก็...ในเรื่องของการอ่าน เริ่มอ่านคำบรรยายเก่าๆ ก่อน เอาคำบรรยายเก่ามาศึกษา เพราะมีข้อดีตรงที่ทำให้เราได้เปรียบกว่าคนอื่น เราสามารถอ่านได้จบก่อนคนอื่น อีกทั้งคอยพยายามติดตามคำบรรยายใหม่ที่ออกมาด้วย เพื่อนำมาศึกษาเปรียบเทียบ ในส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง จากนั้นจดบันทึกเอาไว้...

"...อ่านรอบแรกยังไม่ค่อยจำหรอกค่ะ เพราะจะเป็นแบบขอให้ได้อ่าน พอขึ้นรอบสองเริ่มจดบันทึก และจับใจความสำคัญในเรื่องที่อ่าน จากนั้นเขียนเป็นภาษาของตนเองที่เข้าใจ และที่สำคัญคือ ต้องไม่เครียด อีกอย่างเวลาที่ง่วงควรหาเพื่อนคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน และเทคนิคที่สำคัญสำหรับคนจะไปสอบเนติฯ คือ

โค้งสุดท้ายก่อนสอบสองสัปดาห์ให้เอาข้อสอบเก่ามาอ่าน ไม่ต้องลนลานเวลาทำข้อสอบ

" พัฒนาพรมีเทคนิคส่วนตัวที่ใครจะเอาแบบอย่างก็ได้ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ คือ ตื่นนอน 6 โมงเช้าเพื่อไปทำบุญตักบาตรก่อนจะไปสอบ เพราะทำแบบนั้นแล้วใจสงบและสบายใจ

มาถึงเรื่องราวของเนติบัณฑิตสมัยที่ 57

กมลวรรณ ปริสัญโญดม ทนายความบริษัทสำนักงานกฎหมายเบญจมาอภัยวงศ์ จำกัด

เล่าว่า เป็นคนที่เรียนหนังสืออยู่ในระดับปานกลาง อีกทั้งเป็นคนสมาธิสั้น จึงเข้าเรียนทุกครั้ง เนื่องจากเวลาที่อาจารย์สอนนั้น จะทำให้ทราบว่าตรงไหนคือส่วนสำคัญ เพราะอาจารย์จะเน้นย้ำ และทำให้สามารถจดจำได้ ซึ่งแตกต่างกับที่มานั่งอ่านเอาเอง

"แต่ก่อนมีความเชื่อว่าการจะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะในการสอบเนติฯ จำเป็นต้องเรียนเก่งและต้องมีสมองเป็นเลิศ ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่เลย อยู่ที่ความตั้งใจมากกว่า ตอนที่ยังเรียนอยู่จะพยายามเข้าเรียนทุกวันเรียนกับเพื่อน เป็นคนที่เข้าเรียนตลอดและสม่ำเสมอ ที่สำคัญในการเรียนคือ ฟังอาจารย์เสร็จ อ่านหนังสือแล้วต้องทำเป็นแบบสรุปของตัวเองออกมา เขียนเป็นภาษาของตัวเอง เพราะทำให้เราเข้าใจได้มากขึ้นและจำได้ และเวลาอ่านหนังสือจะจดบันทึกประโยคที่มีความสำคัญจริงๆ และลักษณะของการอ่านจะอ่านแบบสะสม"

กมลวรรณบอกว่า การเร่งอ่านหนังสือช่วงใกล้สอบไม่ใช่วิธีการของเธอ

"เพราะจะทำให้เหนื่อย และเกิดความล้าเกินไป แต่จะจัดแบ่งเวลาในการอ่านอย่างน้อยวิชาละ 1 วัน โดยเริ่มจากทบทวนคำบรรยายก่อน จากนั้นเอาข้อสอบเก่ามาอ่าน และดูว่า 20 ปีข้อสอบออกอะไรมาบ้าง สามารถที่จะตอบประเด็นไหนบ้าง และการทบทวนตัวบทกฎหมาย ต้องตีความไปทีละคำ เพื่อให้เกิดเข้าใจว่ามาตรานี้หมายความว่าอย่างไร ควรจำเฉพาะมาตราหลักๆ ที่สำคัญ และควรอ่านให้เกิดความเข้าใจจริงๆ ไม่ใช่การท่องจำ"

กมลวรรณกล่าว กมลวรรณแนะนำว่า เทคนิคการตอบข้อสอบในเรื่องของมาตราต่างๆ นั้น คือ ควรจำหลักสำคัญๆ ของมาตรานั้นๆ และตอบเฉพาะหลักสำคัญของมาตรานั้นที่ข้อสอบถาม

"คือ เราต้องจำหลักสำคัญของมาตรานั้นๆ ที่เราเห็นว่าสำคัญ และเอาเฉพาะช่วงที่เป็นหลักสำคัญของมาตรานั้นๆ ที่ข้อสอบถามและตอบลงไป เพราะเวลากรรมการตรวจข้อสอบ เขาจะดูว่าเราเข้าใจมาตรานี้จริงๆ และเข้าใจว่าอย่างไร ต้องการสื่ออะไร

อ้อ...แล้วอย่าลืมก่อนวันสอบให้ไปสวดมนต์ไหว้พระ เพื่อทำสมาธิ และตื่นเช้าๆ"

เนติบัณฑิตสมัยที่ 58 ญาดา วรรณไพโรจน์ เจ้าหน้าที่ประจำองคมนตรี ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

เล่าให้ฟังถึงการเป็นนักเรียนกฎหมาย ว่าความจริงเป็นคนไม่ขยันมากนัก แต่ชอบเข้าห้องเรียนตลอด เพราะการเข้าห้องเรียนช่วยทำให้มีแนวทางในการสอบ "การอ่านข้อสอบเก่า และการท่องตัวบทกฎหมาย ล้วนมีความสำคัญ แต่เราต้องวิเคราะห์อย่างคนมีสามัญสำนึกด้วยเช่นกัน อีกทั้งควรออกกำลังกาย กินอาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ เพราะมีส่วนสำคัญทำให้เรามีสมาธิที่ดี"

เทคนิคของญาดา

คือเข้าเรียนช่วง 3 สัปดาห์สุดท้าย เพราะอาจารย์จะเก็งข้อสอบก่อนสอบให้ จากนั้นตั้งใจท่องตัวบท และอ่านข้อสอบเก่า

เทคนิคการตอบข้อสอบคือ ตอบไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ ควรตอบให้รู้เรื่องว่าข้อสอบถามอะไร โดยตอบด้วยความเข้าใจ และมีเหตุมีผล

"อย่าลืมว่าเรื่องของสมาธิสำคัญที่สุด อย่าเครียดมาก อย่ากังวล และถ้าเป็นไปได้ให้สวดมนต์ก่อนเข้าสอบเพราะช่วยทำให้เรามีสมาธิดี หรือจะนั่งสมาธิ 30 นาทีก่อนสอบก็ได้ไม่ว่ากัน..."

มาถึงเรื่องราวของ ภวิศร์ เชาวลิตถวิล เนติบัณฑิตสมัยที่ 59

ปัจจุบันเป็นที่ปรึกษาด้านกฎหมายบริษัท สมชาย คอนสตัคชั่น แอนด์ ดิวิลอปเม้นท์ จำกัด

เล่าว่าเวลาเรียนจะไม่เข้าเรียนทุกคาบ แต่ต้องมีวินัยในตนเอง คือจัดเวลาเรียน และจัดเวลาในการอ่านหนังสือด้วย ภวิศร์บอกว่า อาจารย์ในความคิดของตนมี 3 คน คือ

อาจารย์ผู้สอน

อาจารย์ตนเอง คือต้องมีวินัยในตนเอง

และอาจารย์เพื่อน เพราะเวลาที่ไม่เข้าใจสามารถปรึกษาหารือสอบถามเพื่อนได้ และเพื่อนยังสามารถแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และยังช่วยให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

"ที่ขาดไม่ได้คือ เมื่ออ่านคำบรรยายเสร็จแล้ว จำเป็นต้องทบทวนเสมอ โดยเวลาอ่าน ควรอ่านหลายๆ รอบเพื่อทำให้สามารถจดจำได้ และควรจำเป็นเรื่องๆ พยายามจดบันทึกไว้ว่ามีมาตราอะไรที่สำคัญ พยายามจับใจความสำคัญของแต่ละเรื่องที่อ่าน และในบางเรื่องที่เราคิดว่าไม่สำคัญก็อ่านไปด้วย แต่เป็นการอ่านแบบผ่านๆ เพื่อนำไปใช้ในการตอบข้อสอบซึ่งสามารตอบลงไปได้ด้วย"

เทคนิคของภวิศร์มีว่า

เวลาอ่านประมวลกฎหมาย อย่าคิดว่าต้องท่องประมวลฯ เพราะจะทำให้ง่วง

"ที่เป็นเทคนิคส่วนตัว...คือเวลาดูหนังดูละคร หรือมีสถานการณ์ต่างๆ เกิดขึ้น มักจะคิดตามไปด้วยว่าตามหลักของกฎหมายแล้ว ความน่าจะเป็นนั้นเป็นอย่างไร

แล้วผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นควรออกมาในลักษณะไหน อย่างไร ถึงเรียกว่าถูกต้อง และตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม"

แต่ละคนต่างมีมุมมองในการผ่านด่าน ที่กว่าจะออกมาเป็นนักกฎหมายเต็มตัวแตกต่างกันไป--แต่ที่ไม่แตกต่างกันเลย

คือ เรื่องของความรักและความตั้งใจจะมาเป็นนักกฎหมาย ทั้ง 5 คนต่างเชื่อว่าเนติบัณฑิตต้องมีคุณสมบัติความพร้อมทั้งกายและใจรัก มีความหนักแน่น มั่นใจในตัวเอง ที่สำคัญมีสามัญสำนึกในตนเอง

เพราะ สามัญสำนึก คือหัวใจของนักกฎหมาย เป็นสามัญสำนึกที่ ยึดมั่นในสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นธรรม ต้องยึดมั่นในสิ่งนี้ให้ได้ "นักกฎหมาย" เปรียบเหมือนวิศวกรสังคม เพราะนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ต้องมีนักกฎหมายเข้าไปขับเคลื่อน ฉะนั้นถ้าวิศวกรวางโครงสร้างอาคารบ้านเรือนไม่ดี อาคารบ้านเรือนก็พังลงมา เหมือนกับนักกฎหมายวางโครงสร้างสังคมไม่ดี ประเทศชาติก็พังได้ ทั้ง 5 คนฝากไว้ทิ้งท้าย ว่า เรียนกฎหมายนั้นง่ายที่สุดในโลก แต่การนำกฎหมายไปใช้นั้นก็ยากที่สุดในโลกเช่นกัน

Cr / http://oknation.nationtv.tv/blog/juristicedome/2008/10/14/entry-1

วันอาทิตย์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2561

สรุปย่อวิชานิติปรัชญา ตอนที่ 2

สำนักความคิดในทางกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง (School of Positive Law)
1.  ความหมาย
               
   คำในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า “positive law” นั้น เรียกกันหลายอย่างในภาคภาษาไทย เช่น “กฎหมายปฏิฐาน” บ้าง “กฎหมายที่เคร่งครัด” บ้าง “กฎหมายของรัฐที่บังคับใช้” บ้าง “กฎหมายส่วนบัญญัติ” บ้าง แต่รวมแล้วก็มีความหมายอย่างเดียวกัน คือ กฎหมายที่ทางการตราขึ้นบังคับใช้ในบ้านเมือง ซึ่งจะขอเรียกเสียใหม่ในคำบรรยายนี้ว่า “กฎหมายบ้างเมือง”
               
   สำนักความคิดทางกฎหมายบ้านเมือง มีความเห็นว่า การใช้กฎหมายต้องใช้ตามตัวบทกฎหมายนั้นเองอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องดูบทนิยามศัพท์ของกฎหมาย

2.  กำเนิดและวิวัฒนาการ
               
   สำนัก ความคิดทางกฎหมายบ้านเมือง เกิดขึ้นจากวัตถุประสงค์ที่ว่าต้องการให้กฎหมายมีข้อความแน่นอนตายตัว เพื่อว่าจะได้เป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎร บุคคลที่ประกอบกิจการต่าง ๆ จะได้รู้ล่วงหน้าว่าผลแห่งกิจการของตนในทางกฎหมายเป็นอย่างไร สำนักความคิดนี้ไม่สนใจในคุณธรรมและจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณธรรมและจริยธรรมในกฎหมาย ด้วยเหตุนี้นักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองจึงถือว่ากฎหมายของรัฐที่บังคับใช้เป็น กฎหมายที่สมบูรณ์ใช้การได้จริง (valid) โดยไม่ต้องพิจารณาว่าขัดกับกฎหมายธรรมชาติหรือไม่ แท้จริงแล้ว นักกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองไม่สนใจว่ามีกฎหมายธรรมชาติอยู่จริงหรือไม่และไม่สนใจว่ากฎหมายของรัฐที่บังคับใช้จะยุติธรรมชอบธรรม และสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมหรือหาไม่ (Positive Law….is something ascertainable and valid without regard to subjective considerations.  Hence it must be regarded as separate from morals)
                พระเจ้าจักรพรรดิจัสติเนียนแห่งโรมทรงจัดทำประมวลกฎหมายที่เรียกกันว่า “Corpus Juris Civilis” ขึ้น ก็เพื่อจะให้เป็นกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองที่ยิ่งยิ่งเหนือกฎหมายใด ๆ ในขณะนั้น ข้อนี้แสดงให้เห็นถึงการแข่งขันระหว่างสำนักความคิดทางกฎหมายธรรมชาติและสำนักความคิดทางกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง ซึ่งมีวิวัฒนาการตลอดมา
                ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สำนักกฎหมายธรรมชาติรุ่งเรืองมาก ทั้งนี้ก็ด้วยอิทธิพลของนักบุญโธมัส  อไควนัส ในสมัยกลาง และปรัชญาเมธีคนอื่น ๆ ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยานั้นเอง แต่ในขณะเดียวกันได้มีปรัชญาเมธีคนสำคัญผู้หนึ่งเขียนวรรณกรรมคัดค้านสำนักกฎหมายธรรมชาติอย่างรุนแรง ผู้นั้นคือโธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbs) นักปรัชญาชาวอังกฤษผู้เรียนเรียงเรื่อง “เลวิเอธัน” (Leviatham) ฮอบส์ถือว่ากฎหมายสำคัญกว่าคุณธรรมและจริยธรรมฮอบส์ให้ความเห็นว่า                  รัฏฐาธิปัตย์ (sovereign) เป็นบุคคลสำคัญซึ่งสามารถใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกำราบปราบปรามผู้แข็งข้อ หรือทำลายความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้โดยไม่ต้องพิเคราะห์ว่า รัฏฐาธิปัตย์นั้นได้อำนาจมาจากไหน และโดยวิธีทางใด ความคิดนี้ฮอบส์คงได้รับอิทธิพลมาจากวรรณกรรมในต้นสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของมา ดิอาเวลลีเรื่อง “เจ้า” (The Prince) ฮอบส์กล่าวว่าราษฎรจะต้องยอมรับอำนาจการปกครองของผู้ที่ได้ชัยชนะ ถ้ารัฏฐาธิปัตย์คนก่อนไม่สามรรถปกป้องราษฎรได้อีก ใครที่โค่นล้มรัฏฐาธิปัตย์คนก่อนได้ และมีอำนาจขึ้นแทนที่ย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์คนใหม่ที่ราษฎรจะต้องยอมรับนับถือปรัชญาข้อนี้มีอิทธิพลมากในทางการเมือง และระบบกฎหมายอาญาว่าด้วยความผิดฐาน “ขบถ” ในเวลาต่อมา ได้มีผู้วิจารณ์ปรัชญาของฮอบส์ว่า “เป็นต้นแบบความคิดของนักกฎหมายสกุลหนึ่ง ซึ่งรวมตลอดมาถึงประเทศไทยที่ไม่สนใจในทางจริยธรรมอื่นใด ยิ่งไปกว่าพื้นฐานทางอำนาจของผู้ปกครองรัฐเท่านั้น”
                ฮอบส์ได้อธิบายต่อไปอีกด้วยว่า สิ่งซึ่งเป็นสากล (Jus generale) นั้นไม่มี แม้คุณธรรมทั้งหลายก็ไม่มีตัวตนเอง หากแต่เป็นสิ่งที่คนอื่นเรียกขานขึ้นเท่านั้น เช่นทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนั้ชั่ว ล้วนแต่เป็นเรื่องที่คนอื่นเรียกทั้งสิ้น สำหรับฮอบส์แล้วคนที่มีอำนาจเรียกได้อย่างถูกต้อง และต้องถือว่าเป็นความเห็นที่ยุติคือ “รัฏฐาธิปัตย์” คำอธิบายข้อนี้เห็นจะตรงกับสุภาษิตโบราณของไทยที่ว่า “ของสิ่งใดเจ้าว่างามต้องตามเจ้า ใครเลยเล่าจะไม่งามตามเสด็จ”
                หลักจากสมัยฮอบส์เป็นต้นมา ผู้นิยมในสำนักความคิดทางกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองก็มีมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศอังกฤษ อาทิเช่น จอห์น ออสติน เป็นต้น ออสตินเป็นศาสตราจารย์ทางปรัชญากฎหมายซึ่งไม่ยอมเชื่อในกฎหมายธรรมชาติ และสิทธิธรรมชาติออสตินกล่าวว่า กฎหมายคือคำสั่งคำบัญชาของรัฏฐาธิปัตย์ซึ่งสั่งแก่ราษฎรทั้งหลาย ถ้าผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ผู้นั้นต้องรับโทษา
                อิมมานูเอล ค้านท์ (Immanuel Kant) และ แฮนส์ เคลเส้น (Hans Kelsen) เป็นนักปรัชญากฎหมายยุโรปตะวันออกในยุคหลังที่มีส่วนทำให้กฎหมายฝ่ายบ้านเมืองมีอิทธิพลมากขึ้น โดยค้านท์ตั้งทฤษฎีเด็ดขาด (The Absolute Theory) และเคลเส้นตั้งทฤษฎีกฎหมายบริสุทธิ์ (The Pure Law Theory) ขึ้นอธิบายขยายความสำนักความคิดทางกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองให้พิสดารออกไปยิ่งขึ้น

Cr / http://tayucases.blogspot.com/2011/02/blog-post_1108.html